บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

สมุนไพรมะรุมกับการรักษาโรคกระดูก สมุนไพรบำรุงกระดูก ด้วยแพทย์ทางเลือก

มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย

มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำ และความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด และการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คุณค่าทางอาหาร

          ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นฤดูหนาว เพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม จึงหาได้ง่าย และมีรสชาติอร่อย เพราะสดเต็มที่ มะรุมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน ฯลฯ

มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย

สมุนไพรมะรุมแคปซูลกับการรักษาโรคกระดูก


เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก นั่นคือ 

           มีวิตามินเอ บำรุงสายตามากกว่าแครอท 3 เท่า 
           มีวิตามินซี ช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม 
           มีแคลเซียม บำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด 
           มีโพแทสเซียม บำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย 
           มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมาก เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก 

          นอกจากนี้น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ประโยชน์มะรุม นิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย

นำมาแปรรูปเป็น มะรุมแคปซูลสำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ใบมะรุมยังช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้

ในคัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวไว้ว่า มะรุมเป็นพืชที่สามารถรักษาทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้อักเสบ โรคปอดอักเสบ ฆ่าจุลินทรีย์ หรือเป็นยาปฏิชีวนะ และแต่ละส่วนของต้นมะรุมยังมีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้เป็นยาได้ ไม่ว่าจะเป็น

           ราก มีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ

           เปลือกจากลำต้น  มีรสร้อน นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรค  ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ (ตัดต้นลมดีมาก) แพทย์ตามชนบท จะใช้เปลือกมะรุมสด ๆ ตำบุบพอแตก ๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมา

           กระพี้  แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม

           ใบ  ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน

           ดอก  ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ใช้ต้มทำน้ำชาดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย

           ฝัก  รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ 

           เมล็ด  นำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันสามารถใช้ทำอาหาร รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊าท์ รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง  แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น  รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา

           เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี การรับประทานเนื้อในเมล็ด เป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้


          นอกจากนี้กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในการกรอง หรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้ กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถนำมาทำปุ๋ยต่อได้อีกด้วย

เห็นสรรพคุณมากมายอย่างนี้แล้วคงคิดอยากจะหามาทานกันแล้วซินะจ้า...

เวปไซต์ thaiherbweb.com
Line ID @THAIHERBWEB
เบอร์โทร 0973199029, 0805842717, 021387031, 0863515214
EMAIL
thaiherbweb@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: