บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

มะแว้งกับการลดน้ำตาลในเลือด



ทั้งมะแว้งต้นและมะแว้งเครือต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน แต่มักจะนิยมใช้มะแว้งเครือมาทำเป็นยามากกว่า แม้กระทั่งผลมะแว้งที่นำมาจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน ก็ยังนิยมใช้ผลมะแว้งเครือเช่นกัน แต่แพทย์แผนไทยในอดีตจะนิยมใช้ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นร่วมกัน โดยเรียกว่า มะแว้งทั้งสองมะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลักของตำรับยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

"มะแว้งมีคุณค่าทางโภชนาการ
       คือ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี มีสารประกอบประเภทสเตียรอยดฅ์ เช่น เบต้าซิโตสเตอรอล, ไดออสเจนิน, มีสารอัลลาลอยด์โซลานีน, โซลานิดีน และรสขม

สรรพคุณของมะแว้ง
ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดได้ โดยอาจนำไปลวกหรือเผาจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหาร ทำแกง หรือใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสขม เช่น แกงใส่ปลาแห้ง หรือน้ำพริก เป็นต้น โดยผลมะแว้ง จะมีรสชาติค่อนข้างขื่นขม แต่เมื่อเคี้ยวไปสักครู่จะรู้สึกออกรสหวานเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของผลมะแว้งดิบ โดยผลมะแว้งต้นจะมีวิตามินเอค่อนข้างสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่า

สรรพคุณเด่นของมะแว้ง
       มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการไอและป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อที่รุนแรงในระบบทางเดินหายใจ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ จึงสามารระงับการอักเสบได้ มะแว้งตามสรรพคุณยาไทยบอกไว้ว่า ผลมะแว้งใช้ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้เบาหวาน บำรุงเลือด รากมะแว้ง แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ขับปัสสาวะ เพราะทุกส่วนของต้นมะแว้งนั้นล้วนแต่มีสรรพคุณทางยารักษา
ผลแก่ มีสรรพคุณใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือดได้เล็กน้อย เจริญอาหารและบำรุงน้ำดี แก้ไข้ ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะแว้งต้นเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ลดความดันโลหิต ต้านการชัก เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ กดประสาทส่วนกลาง ลดน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ลดการบีบตัวของลำไส้
  
     

         ตำรายาไทย ผลและราก รสขมเปรี้ยว เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ไซนัส ขับลม แก้ปวดหัว ปวดบวมอักเสบ รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ปวดกระเพาะ แก้ฟกช้ำดำเขียว และใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี และช่วยเจริญอาหาร ผลสุกและผลดิบ รสขมขื่นเปรี้ยว แก้โรคเบาหวาน ละลายก้อนนิ่ว แก้ไข้สารพัดพิษ ช่วยเจริญอาหาร แก้กินผิดสำแดง ลดน้ำตาลในเลือดได้บ้าง แก้ไอ ขับเสมหะ ขับลม แก้ไข้เพื่อเสมหะในคอ แก้น้ำลายเหนียว ขับปัสสาวะ บำรุงน้ำดี  ราก รสขมขื่นเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว เป็นยาแก้ไอ ขับลม แก้คัน ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต รักษามะเร็งเพลิง บำรุงธาตุ รักษาวัณโรค ใบ บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ เนื้อไม้ แก้แน่น แก้จุกเสียด ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับพยาธิ


นอกจากประโยชน์ของมะแว้งในด้านอาหารและสมุนไพรแล้ว ยังอาจนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้อีก เช่น หากปลูกต้นมะแว้งเครือไว้ที่รั้วบ้านก็จะได้รั้วบ้านที่มีชีวิตชีวา มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีม่วงงดงาม ผลสุกเป็นสีแดงเข้มดูแปลกตา ผลัดเปลี่ยนกันไปตามฤดูกาล ไม่จำเจ และผลสุกของมะแว้งยังช่วยดึงดูดนกให้มาเยี่ยมเยียนขอชิมอยู่บ่อย ๆ ด้วย นอกจากนั้นต้นมะแว้งยังมีหนามอยู่มากมายที่จะทำหน้าที่เป็นรั้วได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


เวปไซต์ thaiherbweb.com
Line ID  @thaiherbweb   (มีตัว@นำหน้า)
เพสบุุ๊ค  https://www.facebook.com/ThaiHerbClub
เบอร์โทร 0973199029, 0805842717, 021387031, 0863515214


ไม่มีความคิดเห็น: