บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พริกไทยดำ...ลดพุง..ลดโรค

พริกไทยดำ...เม็ดเล็ก...แต่สรรพคุณไม่เล็ก
         พริกไทยเป็นเครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงอาหาร ให้มีกลิ่นและรสที่ชวนรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นพริกไทยสด หรือพริกไทยแห้ง ก็จะให้รสเผ็ดร้อนและหอมฉุน ทานแล้วรู้สึกโล่งจมูกหายใจสะดวก และสบายตัว นอกจากนี้ยังช่วยในการดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ และช่วยถนอมอาหารอีกด้วย

             พริกไทยอ่อนมีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหารได้ ส่วนพริกไทยดำเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อีกทั้งยังช่วยในการละลายไขมันหน้าท้อง่ช่วยในการเผาผลาญลดน้ำหนักอีกด้วย
             พริกไทยดำมีสรรพคุณทางยาดีกว่าพริกไทยขาว อีกทั้งยังมีความเผ็ดร้อนและหอมฉุนมากกว่า เพราะสารที่ให้รสเผ็ดร้อน ส่วนใหญ่อยู่ที่เปลือกของพริกไทย
              สรรพคุณของพริกไทย
- ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม 
- รักษาอาการปวดท้อง และอาเจียนเป็นน้ำ
- นิยมใช้เป็นส่วนผสม ในยาสตรีหลังคลอดบุตรเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และช่วยแก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
- ช่วยต่อต้านความอ้วน เพราะมีสารพิเพอรีนที่มีรสฉุนและเผ็ดร้อน จึงช่วยขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้น
- เมล็ดพริกไทยมีสารฟินอลิกส์ และสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)
- เมล็ดพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีส่วนช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (อ้างอิง : รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์) (เมล็ด)
- สรรพคุณช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
             ทุกส่วนของพริกไทยมีประโยชน์
- ใบ รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แน่น ปวดมวนในท้อง
- ผล  ที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
- เมล็ด มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมลั่นในท้อง บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด แก้เสมหะเฟื่อง แก้มุตกิด ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับลม
- ดอก มีรสเผ็ดร้อน แก้ตาแดงอันเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง
- ราก มีรสเผ็ดร้อน แก้ปวดดท้อง แก้ลมวิงเวียน ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อย
- เถา มีรสร้อย แก้อติสาร (อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงฉ แก้เสมหะในทรวงอก
            ข้อควรระวังในการทาน
- ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป
- สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมาก เพราะพริกไทยมีรสร้อน อาจทำให้เกิดการแท้งได้
- ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตา และเจ็งคอ ไม่ควรรับประทาน

สนใจอ่านต่อได้ที่ : http://www.thaiherbweb.com













ไม่มีความคิดเห็น: