อัญชัน “ดอกสีม่วง”ป้องกันตาเสื่อม
ดอกอัญชันนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ามีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร
ช่วยบำรุงเส้นผมและสายตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ
หมอยามักจะบอกว่า
กินอะไรที่มีสี จะมีปัญญาดี สายตาดี เส้นผมดี
เป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันจากการศึกษาสมัยใหม่ที่พบว่า ในพืชหลายชนิดรวมทั้ง
อัญชัน ดอกสีม่วงมีสารแอนโทไซยานินที่จัดอยู่ในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์
เป็นสารให้สีตามธรรมชาติที่ละลายน้ำได้ และเปลี่ยนสีไปตามสภาวะความเป็นกรด-ด่าง
ตั้งแต่น้ำเงิน ม่วง แดง ไปจนถึงส้ม ชนิดที่พบในกลีบดอกอัญชันสีม่วงมีชื่อว่า
เทอร์นาทิน(termatims) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงิน
ตรงกับรากศัพท์เดิมของ แอนโทไซยานิน ซึ่งหมายถึง ดอกไม้สีน้ำเงิน นั่นเอง
สารแอนโทไซยานินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสียูวี และ ทำให้หมดฤทธิ์
มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารแอนโทไซยานิน
ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตา เช่น
ป้องกันตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
การค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับผลดีต่อสุขภาพตา
มาจากงานวิจัยที่พบว่า สารแอนโทไซยานินจากองุ่นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สามารถยับยั้งปฎิกิริยาออกซิเดชันที่ทำลายไขมันบริเวณผิวเซลล์ ปกป้องดีเอ็นเอและเซลล์จอตา
ไม่ให้ถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และกระต้นการทำงานของเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
แอนโทไซยานินยังมีฤทธิ์กระตุ้นกลไกอื่นๆ
ที่ส่งผลดีต่อดวงตาคือ ยับยั้งการลดจำนวนของสารสีม่วงที่มีชื่อว่า โรดอปซิน (rhodopsin)
ในเซลล์รูปแท่งที่จอประสาทตา ซึ่งมีความไวต่อแสงและช่วยการมองเห็นในที่มืด ยับยั้งการหลั่งสารอินเทอร์ลูคิน-6
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ
ดอกอัญชันมีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยในดอกอัญชันนั้นมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่าแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสารชนิดนี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดวงตา เพิ่มความสามารถในการมองเห็น แก้อาการตาฟาง ตามัว หรือภาวะการเสื่อมของดวงตาที่มาจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น
ในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ เพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงจอตาในผู้ป่วยโรคต้อหิน ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดเล็กๆ คลายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเซลล์ตาดีขึ้น จึงเพิ่มความสามารถในการมองเห็นและชะลอความเสื่อมของดวงตาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น