บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ขมิ้นชันแคปซูล ต้านอนุุมูลอิสระ เคอคูมิน สำหรับผู้ที่อยากบำรุง อวัยวะภายในอาทิ ลำไส้ กระเพาะ ลำไส้ ขมิ้นชันเต็มไปด้วยวิตามิน A , C , E รวมถึงสารที่เรียกว่า คูเคอร์มิน ซึงต้านอนุมูลอิสระ ได้อย่างแรง ป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง

 

ขมิ้นชัน

 

ขมิ้นชันแคปซูล


ก่อนที่จะมาเป็น #ขมิ้นชันแคปซูล เรามาทำความรู้จักกับ ขมิ้นชัน กันก่อนว่าที่มาที่ไป ต้นกำเนิดมาจากไหน การขยายพันธุ์

เพาะปลูก และการเก็บเกี่ยว เกษตรกรไทย ต้องเตรียมอะไรบ้าง กว่าจะออกมาเป็น ขมิ้นชันแคปซูล ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่

ขายดีมากในปัจจุบัน

ขมิ้นชัน

ชื่อสามัญ : Turmeric

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นทอง ขมิ้นหัว ขมิ้นแกง ขมิ้นไข ขมิ้นหยวก หมิ้น ขี้มิ้น

ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยนำขมิ้นชันมาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหาร

ตลอดจนใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ แต่คนทั่วไปส่วนใหญ่รู้จักในชื่อว่า ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและ

ปลูกเป็นการค้า มีปลูกอยู่ทั่วไป ปลูกมากทางภาคใต้ เพราะอาหารของภาคใต้จะมีการใช้ขมิ้นเป็นส่วนผสมของอาหารเกือบ

ทุกชนิด

ลักษณะทั่วไป

ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน (rhizome) ลักษณะเป็นเหง้าแง่ง เนื้อในเหง้าแง่งมีสีเหลืองอมส้ม

และมีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนลำต้นเหนือดินเกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบ ซึ่งจะสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร ใบเป็นใบ

เดี่ยวขนาดใหญ่ ใบรูปหอกมีสีเขียว กว้าง 8-10 เซนติดเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร

ออกดอกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ช่อดอกประกอบด้วยใบประดับจำนวนมาก มีสีเขียวอ่อน ส่วนใบประดับตรงปลายช่อจำนวน

6-10 ใบจะมีสีขาวหรือขาวแกมชมพูเรื่อๆ ดอกมีสีเหลืองอ่อน ซึ่งเกิดในซอกใบประดับ (ยกเว้นซอกใบตรงปลายช่อ) ผล

เป็นรูปกลม ภายในผลแบ่งออกเป็นพูได้ 3 พู ในแต่ละพูจะมี 2 เมล็ด

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ขมิ้นชันที่ดีในตลาดโลกมีมากกว่า 50 สายพันธุ์ ส่วนมากมาจากอินเดีย แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงใช้พันธุ์ที่มีอยู่ใน

ท้องถิ่น โดยเกษตรกรจะคัดเลือกไว้หลังฤดูการเก็บเกี่ยว เช่น ขมิ้นชันทับปุด (พังงา) ขมิ้นชันตาขุน (สุราษฏร์ธานี) ขมิ้นชัน

ดอยมูเซอ ขมิ้นชันพันธุ์ตรัง 84-2 เป็นต้น

ส่วนการขยายพันธุ์จะใช้เหง้าหรือแง่งนิ้วที่มีตาอยู่ 2-3 ตา/ท่อน พันธุ์ หรือ จะใช้แง่งย่อยทั้งแง่งก็ได้ แต่การใช้เหง้าปลูกจะ

เจริญเติบโตเร็วกว่า

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ขมิ้นชันชอบอากาศแบบร้อนชื้น หากปลูกในที่โล่งแจ้งหรือมีแสงรำไรจะเจริญเติบโตได้ดี ชอบดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุ

อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี มีค่า pH ประมาณ 5-7.5 ไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง และไม่ชอบสภาพน้ำท่วมขัง เพราะจะ

ทำให้เหง้าเน่า

การเตรียมดินปลูก

ก่อนปลูกควรดายหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืช แล้วไถพรวนลึก 20.30 เซนติเมตรอย่างน้อย 1 ครั้ง ตากดินไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อ

ทำลายแมลงและเชื้อราบางชนิด จากนั้นยกร่องสูง 25 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ระยะระหว่างร่อง 80 เซนติเมตร แต่ถ้าดิน

ปลูกเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่อง

ปรับปรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4 ตัน/ไร่ หรือใส่เศษซากพืช ใบไม้ผุ ลงในแปลงปลูก และควรใส่ปูน

ขาวในดินเพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย

การเตรียมหัวพันธุ์

การปลูกขมิ้นชันอาจใช่ท่อนพันธุ์ได้ 2 ลักษณะคือ การใช้หัวแม่และใช้แง่ง มีวิธีการเตรียมดังนี้

1.คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ และไม่มีโรคแมลงทำลาย

2.แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่นให้เป็นท่อน โดยในแต่ละท่อนให้มี ตาติดอยู่ 2-5 ตา

3.นำท่อนพันธุ์ไปแช่ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ตามอัตราที่แนะนำ

4.ก่อนนำลงปลูก ควรชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าซึ่งอาจติดมากับท่อนพันธุ์

การปลูก

วิธีปลูก ควรปลูกในฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพราะฤดูอื่นขมิ้นจะพักตัว ไม่งอก โดยใช้ระยะปลูก 30*30

เซนติเมตร ขุดหลุมปลูก ให้มีขนาด 15*15*15 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณหลุมละ 200 กรัม หรือ 1

กระป๋องนม

จากนั้นนำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินให้หนา 5 เซนติเมตร คลุมแปลงด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งให้หนาประมาณ 2

นิ้ว เพื่อรักษาความชื้นในดินและป้องกันการงอกของวัชพืช และรดน้ำให้ชุ่มหลังจากปลูกประมาณ 7-10 วัน เหง้าขมิ้นก็จะ

เริ่มงอก

การดูแลรักษา

การให้น้ำ ช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ควรให้น้ำแก่ต้นอ่อนอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หากวันไหนฝนตกไม่ต้องให้น้ำ แต่

ต้องระวังอย่าให้น้ำท่วมขังในแปลงเป็นเวลานานๆ เพราะอาจทำให้ขมิ้นเน่าตายได้ ควรเตรียมแปลงให้มีทางระบายน้ำและต้อง

รีบจัดการระบายน้ำออกทันทีที่พบว่ามีน้ำท่วมขัง

สำหรับระยะหัวเริ่มแก่ ขมิ้นจะต้องการน้ำน้อยลง ส่วนในระยะเก็บเกี่ยว ขมิ้นจะไม่ต้องการน้ำเลย

การใส่ปุ๋ย ขมิ้นชันอายุ 1 เดือนครึ่ง ถึง 2 เดือน ซึ่งกำลังเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา ครึ่ง

ช้อนแกง/ตัน

ขมิ้นชันอายุ 3 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง อยู่งอยู่ในระยะสะสมอาหาร ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกง/ต้น

วิธีการใส่ปุ๋ย อาจโรยเป็นแถวหรือโรยรอบๆต้นแล้วพรวนดินกลบโคนต้น

การกำจัดวัชพืช หลังจากขมิ้นชันงอกลำต้นยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร จะต้องรีบทำการกำจัดวัชพืช เนื่องจากขมิ้นชัน

หลังจากงอกจะเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชไม่ได้ หลังจากนั้นควรดายหญ้าบนแปลงทุกเดือน

อย่างไรก็ตามการกำจัดวัชพืชควรทำก่อนที่ขมิ้นอายุได้ 4 เดือน หลังจากปลูก เพราะถ้าทำหลังจากนี้จะเป็นอันตรายกับหัว

ขมิ้นที่อยู่ใต้ดิน

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โรคของขมิ้นชันมีสาเหตุสำคัญมาจากน้ำท่วมขัง หรือการให้น้ำมากเกินไป หรือปลูกน้ำในที่

เดิมหลายๆครั้ง โรคที่พบได้แก่ โรคเหง้าและรากเน่าซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคต้นเหี่ยว โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนสและ

โรคใบไหม้ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ฟนอนกระทู้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเหง้าและ

กัดกินใบ ดังนั้นควรเตรียมแปลงปลูกให้มีทางระบายน้ำ ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยไดโฟลาแทน เพื่อป้องกันโรครากเน่า

และหากมีแมลงกัดกินใบควรพ่นด้วยเซฟวิน

การเก็บเกี่ยว

หลังจากปลูกประมาณ 7 เดือน ขมิ้นเริ่มมีใบเหลือง แสดงว่าขมิ้นเริ่มแก่ แต่ควรปล่อยให้ขมิ้นอยู่ในแปลงต่อไปอีก จนขมิ้น

มีอายุ 9-11 เดือน ซึ่งเหง้าจะมีความสมบูรณ์หรือแก่เต็มที่ จึงขุดขึ้นมา ก่อนขุดควรรดน้ำก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ดินอ่อนนุ่ม

สะดวกต่อการขุดและช่วยให้แง่งไม่หัก ไม่ควรเก็บเกี่ยวในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ หลังจากขุดขึ้นมาแล้วต้องนำไปตัดแต่ง

รากและล้างดินออกให้สะอาด

สรรพคุณทางยา

เหง้าหรือแง่งแก่ แก้อาการท้องร่วง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ธาตุพิการ เจริญอาหาร ขับผายลม ขับเสมหะ แก้โรคกระเพาะ รักษา

แผลในกระเพราะ รักษาแผลในลำไส้ แก้ไข้ท้องมาร แก้โรคเกาต์ แก้วิงเวียน แก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน บำรุง

ผิวพรรณ แก้อักเสบ แก้พิษยุงกัด แก้คัน แก้บิด สมานแผล เป็นต้น

ราก เป็นยาบำรุง ลดไข้ แก้ลมชัก แก้อาการฟกซ้ำ แก้โรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นต้น

รสทางยา : ฝาด กลิ่นหอมฉุน

ประโยชน์ของขมิ้นชัน

ด้วยคุณประโยชน์ที่ขมิ้นชัน มีวิตามิน เอ, ซี, อี ดังนั้นจึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร

ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระ #ป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับ

ผิวหนัง

ขมิ้นชัน ช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุก เสียด แก้โรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้มีการผลิตขมิ้นชันแบบผงบรรจุ

แคปซูลเพื่อความสะดวกแก่การรับประทาน กลายมาเป็น ขมิ้นชันแคปซูล ที่ขายดีในขณะนี้นั่นเอง

กินขมิ้นชัน ทุกวันให้เป็นอาหาร

แน่นอนหลายท่านคงจะไม่เข้าใจว่า กินทุกวันให้เป็นอาหารคืออะไร เรามาทำความรู้จักกับขมิ้นชันกันก่อนดีกว่า ขมิ้นชัน เป็น

พืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหงาจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้ม จนถึงสีแสดจัด คนไทยรู้จักกันในทาง

เอามาปรุงอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร ปลาทอด ไก่ทอด แกงไตปลา และอีกสารพัดเมนู

ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี วิตามินอี

แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นต้น เหง้าของขมิ้นชัน

นั้น มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็งตับ บำรุง

ตับ

การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมพบว่า การกินขมิ้นชันตามนาฬิกาชีวิตในช่วงที่อวัยวะต่างๆเปิดการทำงาน จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ

ของขมิ้นชันมากขึ้น เพราะฉนั้น เราต้องกินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ต้องกินให้สนุก ไม่ใช่กินเป็นยา ใช้ปรุงอาหารบ้าง หุงข้าว

ใส่ขมิ้นชันก็ได้ กินแบบเม็ดแคปซูลบ้าง

ใช้รับประทานเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปือกหรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผง

บรรจุแคปซูลเพื่อความสะดวกแก่การรับประทาน

ขมิ้นชันมีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ ดังนี้

ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผล

ภายในกระเพาะอาหาร #ช่วยย่อยอาหารช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูล

อิสระป้องกันมะเร็งตับ

#สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์

มะเร็ง ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

กินขมิ้นชันให้ตรงเวลา ที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงกับประเด็นที่ต้องการจะ

บำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูอวัยวะ รับประทานเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหา

หลายอย่างก็รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ถ้ารับประทานขมิ้นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะทำหน้าที่ขับไขมันใน

ตับ

กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ไม่ใช่กินเป็นยา ต้องกินให้สนุกใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็

ดี ทำให้หอมน่ากิน และยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้เป็นบางส่วน

ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นบดเป็นผง ต้องนำขมิ้นมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง เสร็จแล้วตักออกนำ

มาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นแห้ง

ความร้อนไม่ควรเกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้

 

 ขมิ้นชัน                      

 

กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น

เวลา 03.00 - 05.00 น. ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่

หายใจไม่สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

เวลา 05.00 - 07.00 น. ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟู

ปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ปัญหาลำไส้ใหญ่

กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับ

สูตรโยเกิต นมสด น้ำผึ้ง มะนาว หรือน้ำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆ อยู่เป็นล้านๆ เส้น ซึ่ง

ขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิด

แก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

เวลา 07.00 - 09.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขา

ตึง ช่วยบำรุงสมอง #ป้องกันความจำเสื่อม

เวลา 09.00 - 11.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป ผอมเกินไปที่เกี่ยวกับม้าม ลดอาการ

ของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

เวลา 11.00 - 13.00 น. สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ มีหรือไม่มี ถ้ากินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วย#บำรุงหัวใจให้แข็ง

แรง ถ้าเลยเวลา 11.00 น.ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับ แล้วตับจะส่งมาที่ปิด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่

ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีก

ทางหนึ่ง

เวลา 15.00 - 17.00 น. ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชาย

เวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงือกออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับ

สารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

กินเหลือเลยเวลาจากช่วงนี้ จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมา

การหาซื้อขมิ้นชันมารับประทานเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบผง หรือแบบแคปซูล ควรจะหาซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน มีความ

สะอาดปลอดสารเคมี ไม่มีสารสเตียรอยด์ปลอมปน และในกระบวนการผลิตนั้นต้องไม่ผ่านความร้อนเกิน 65 องศา เพื่อคง

คุณภาพของขมิ้นชันไว้

ผลการศึกษาวิจัยขมิ้นชัน

ได้มีการทดลองในผู้ป่วยที่ปวดท้องเนื่องจากมีแผลในกระเพาะอาหาร การทดลองผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารในคน

โดยการส่องกล้อง พบว่า ขมิ้นชันช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายได้ดี ผู้ป่วยต้องได้รับขมิ้นชันติดต่อกันอย่างน้อย 4

สัปดาห์ เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน

แต่ในกรณีของการติดเชื้อ H. pylori พบว่าไม่สามารถฆ่าเชื้อ H. pylori ได้ แต่ก็ยังช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย และ

ลดการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหาร ลด อาการปวดแสบท้อง

การรับประทานขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่า วิตามินอี 80 เท่า ปัจจุบันจึงนำมาใช้ในโรคที่คาดว่าจะเกิดจากอนุมูล

อิสระ อาทิ โรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และหลอดเลือด

ข้อควรระวังการใช้ขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นชันเพื่อการรักษาโรคใดๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร หากรับประทานไปเรื่อยๆ จนโรคนั้นหาย

ไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริงแต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษ

เสียเอง ขมิ้นชันผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมี

อาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อว่าขมิ้นชัน โทษและข้อเสียของขมิ้น

ในแถบภาคใต้ว่าการรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แต่อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง



ขอบคุณบทความจาก : http://www.thaiherbweb.com/product-type/3311/ขมิ้นชันแก่.html

ไม่มีความคิดเห็น: