บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคท้องอืด แน่นท้อง สมุนไพรช่วยย่อย

โรคท้องอืด แน่นท้องท้องอืด

#โรคท้องอืด แน่นท้อง #อาหารไม่ย่อย หรือโรค Dyspepsia นั้น มีลักษณะเป็นอาการแน่นท้อง ปวดท้อง หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณท้องด้านบนส่วนกลางหรือบริเวณลิ้นปี่ ผู้ป่วยอาจเล่าว่ามีอาการแน่นท้อง อิ่มเร็ว ท้องอืดท้องเฟ้อ" href="#www.thaiherbweb.com"> #ท้องเฟ้อ เป็นตัน
โรคนี้เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยพบได้บ่อยประมาณ 25% ของคนทั่วไป ส่วนใหญ่มีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ต้องหยุดงาน หรือประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง


**การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่นๆ ไปก่อน เช่น #โรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร ปวดท้องจาก#โรคของทางเดินน้ำดี และ#โรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งอาจมีอาการคล้ายกันออกไปก่อน เนื่องจากแนวทางในการรักษาโรคเหล่านี้แตกต่างไปจากภาวะ Dyspepsia โดยทั่วไปโรคนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง ยกเว้นมีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะอื่น

 

**สาเหตุของโรคท้องอืด แน่นท้อง Dyspepsia

โรค Dyspepsia อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายอย่างด้วยกัน ประมาณ 30 – 50% ของผู้ป่วยสามารถตรวจ พบสาเหตุของอาการได้ แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะหาสาเหตุของอาการไม่พบ ซึ่งเรามักเรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ว่า Functional Dyspepsia หรือ NUD (non-ulcer Dyspepsia)

 

สมุนไพรแก้ท้องอืด

 

**สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการ Dyspepsia ได้แก่
1. อาหาร มีอาหารหลายชนิดที่อาจเป็นสาเหตุที่ผู้ป่วยมักจะบอกว่าทำให้เกิดอาการ เป็นมากขึ้น อาหารเหล่านี้ ได้แก่อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด มะเขือเทศ สุรา หรือแอลกอฮอล์ อาหารมัน และกาแฟ
2. ยา ยามีหลายชนิดที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร และทำให้เกิดอาการ เช่น ยาแก้ปวดกระดูก ยาคลายเส้น ยาปฏิชีวนะ ธาตุเหล็ก ยาความดันบางชนิด การหยุดยาสามารถทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้นได้
3. โรคของกระเพาะอาหารและลำไส้เป็นแผล
4. โรคของตับและตับอ่อนอักเสบ
5. โรคทางกายจากระบบอื่นนอกทางเดินอาหารเช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีโรคต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตทำงานน้อย เป็นต้น
6. Functional Dyspepsia หรือ NUD (non-ulcer Dyspepsia)


ในปัจจุบันจึงแนะนำให้ทดลองรักษาด้วยการกินยาไปก่อน ยกเว้นผู้ป่วยจะมีลักษณะที่บอกว่ามีโอกาสสูงต่อการรักษาด้วยยา ส่วนการตรวจหาสาเหตุด้วยการส่องกล้องตั้งแต่เริ่มแรก สามารถทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น หรือลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ดีกว่าการรักษาด้วยยา และเนื่องจากการส่องกล้องตรวจภายในทางเดินอาหารปัจจุบันสามารถทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถทำได้ค่อนข้างสะดวกและปลอดภัย ส่วนการแสดงอาการของผู้ป่วย Dyspepsia ที่อาจบ่งบอกว่าผู้ป่วยน่าจะมีสาเหตุของอาการจากโรคที่ร้ายแรง ได้แก่ อาการกลืนลำบาก น้ำหนักลด เลือดออกในทางเดินอาหาร ตรวจพบเลือดในอุจจาระ ถ่ายอุจจาระดำ หรือมีอาการของลำไส้อุดตัน เช่น อาเจียนมาก ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เหล่านี้ บ่งบอกว่าผู้ป่วยควรได้รับการส่องกล้องภายในทางเดินอาหารส่วนต้น

ชาอบเชย

**การส่องกล้องตรวจภายในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
ปัจจุบันเป็นการตรวจมาตรฐานในการตรวจหาความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนบน ในผู้ป่วย เนื่องจากมีความแม่นยำสูง และในกรณีที่จำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา ก็สามารถที่จะทำได้โดยมีความแม่นยำสูงมาก ในการวินิจฉัย#โรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หลอดอาหารอักเสบ รวมทั้งมะเร็งภายในทางเดินอาหารส่วนต้น และสามารถทำการรักษาในภาวะได้ด้วย
ในผู้ป่วย Dyspepsia ทุกรายที่มีอาการเตือนของโรคร้ายแรงควรได้รับการส่องกล้องตรวจ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีอาการมาไม่นาน และไม่เคยเป็นมาก่อน ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้อง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเป็น#มะเร็งภายในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น การส่องกล้องก็เป็นการตรวจที่สามารถช่วยยืนยันให้ผู้ป่วยลดความกังวลดังกล่าว

 

**การดูแลตนเอง
1. ถ้ามีอาการเป็นๆ หายๆ หรือมีอาการน่าสงสัยว่าอาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น ปวดรุนแรง ปวดนานเกิน 6 ชั่วโมง กระเทือนถูกเจ็บ อาเจียน ถ่ายอุจจาระดำ ตาเหลือง ตัวเหลือง น้ำหนักลด ปวด ร้าวขึ้นคอ ขากรรไกร ไหล่ หรือต้นแขน เป็นต้น ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
2. ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวดังนี้
 งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต น้ำอัดลม อาหารที่ทำให้กำเริบ (เช่น ของมัน ของหวาน รสจัด) หลีกเลี่ยงยา (เช่นแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ)
 กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อและควรกินอาหารมื้อเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
 ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเร่ง อย่ากินจนอิ่มมากเกินไป
 หลังกินอาหารอิ่ม อย่าล้มตัวลงนอน หรืออยู่ในท่าก้มงอตัว และอย่ารัดเข็มขัดแน่น
 ถ้าน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนัก
 ถ้าเครียด ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด

  • พริกไทยดำ  พริกไทยดำ

    #พริกไทยดำ พริกไทยดำเป็นสมุนไพรที่ทำให้เลือดลมเดินได้สะดวก ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วย#กระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานดี เครื่อง เทศที่มีกันอยู่ทุกครัวเรือน "พริกไทย" พริกไทยเม็ดเล็ก ๆ นี่แหละค่ะที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์มากมาย

    คราวนี้มาดูกันว่าความมหัศจรรย์ทางยาของราชาเครื่องเทศ มีมากน้อยแค่ไหนในตำรายาไทย กล่าวว่า

     รากพริกไทย มีรสร้อน แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

     เถาพริกไทย รสร้อน แก้ท้องร่วงอย่างรุนแรง แก้เสมหะในทรวงอก

     ใบพริกไทย รสเผ็ดร้อน แก้ลม #แก้จุกเสียด แน่น ปวดมวนท้อง

     ดอกพริกไทย รสเผ็ดร้อน แก้ตาแดง

     เมล็ดพริกไทย รสเผ็ดร้อน แก้ลม อัมพฤกษ์ บำรุงสายตา แก้ท้องอืดท้องเฟ้อแก้เสมหะ แก้ตกขาว

    ส่วนทางแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า พริกไทยกระตุ้นการไหลของน้ำลายและน้ำย่อย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้กล้ามเนื้อในกระเพาะและลำไส้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ ทำให้อาหารถูกย่อยง่าย

กานพลู กานพลู

#กานพลู เรอ ผู้มีอาการทรมานอันเกิดจาก ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง มีลมในกระเพาะ ทำให้ให้อึดอัด ทรมานตอนอิ่ม ช่วยไล่แก๊สในกระเพาะอย่างได้ผล
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีการใช้กานพลู ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏในตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” โดยมีส่วนประกอบของกานพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ประกอบด้วย “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของกานพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และอาการท้องเสียที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ และตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีกานพลูเป็นองค์ประกอบหลัก และมีสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ

 ลูกยอ

ยอ…สมุนไพรของการแพทย์ไทย

#ยอ Morinda citrifolia Linn. เป็นสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของสังคมไทย เพราะนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงทั้งในใบและผลแล้ว ยอยังเป็นยาช่วยย่อย บำรุงธาตุไฟ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อันเป็นปัจจัยแรกที่จะทำให้ร่างกายเป็นปกติ ไม่เสียสมดุล นอกจากนี้ คนสมัยก่อนจะกินยอเพื่อแก้ท้องอืดอาหารไม่ย่อย เพราะยอเป็นยาร้อน ซึ่งความเป็นยาร้อนก็จะช่วยเพิ่มพลังของธาตุไฟที่ช่วยในการเคลื่อนไหว และการไหลเวียนต่างๆ ให้แก่ร่างกาย รับประทานมากจะทำให้ธาตุไฟเผาผลาญซึ่งทำให้ร่างกายผ่ายผอมลงได้ ในแง่ประโยชน์ทางยาการรับประทาน ยอจะช่วยในการย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย 

ผลของยอมีรสเผ็ดร้อนช่วยขับลมในลำไส้ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุไฟได้ดีนัก จึงนิยมใช้ทำยารักษาโรคท้องอืดท้องเฟ้ออาหารไม่ย่อย การใช้ผลลูกยอจะมีสรรพคุณที่แรงกว่าใช้ใบ กินแล้วผายลมสบายท้องดีจริงๆ

อบเชยสมุนไพรช่วยย่อย

สำหรับ ผงอบเชยละเอียดที่โรยลงในเครื่องดื่ม หรือ ขนมหวาน นอกจากเพื่อให้เกิดความสวยงามน่าดื่มกินแล้วนั้น ยังแฝงไปด้วยสรรพคุณที่สามารถช่วยรักษาระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดให้คงที่ นอกจากนี้ อบเชยยังช่วยแก้อาการ จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ขับปัสสาวะ ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลียได้ อบเชยมีคุณสมบัติช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน ป้องกันไม่ให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนของเลือด และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราด้วย



ขอบคุณบทความจาก : http://www.thaiherbweb.com/product-type/1990/กระเพาะ-ท้องเฟ้อ.html

ไม่มีความคิดเห็น: