บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมุนไพรรักษาโรค รักษาโรคจากสมุนไพร

 

                                            มะระขี้นก

พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด

                         
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด

สมุนไพร เบาหวาน

จากข้อมูล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการรวบรวมงานศึกษาวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พบรายงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 81 เรื่อง ว่ามีพืชสมุนไพร 54 ชนิด ที่สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตัวอย่าง สมุนไพร เบาหวาน ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้

#สมุนไพรรักษาโรค

@ช้าพลู

ช้าพลูเป็นผักพื้นบ้านที่คนนิยมรับประทานสดๆ เป็นส่วนประกอบของเมี่ยงคำ เชื่อกันว่าเป็นอาหารบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร คนอิสานยังเชื่อว่าใบช้าพลูมีสรรพคุณแก้พิษของหอย จึงนิยมทำแกงกะทิหอยใส่ใบช้าพลู ภาคใต้นิยมนำช้าพลูมาช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ

ในประเทศไทยมีตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้ช้าพลูทั้งห้าต้มแก้เบาหวาน ซึ่งใช้แพร่หลายในชาวบ้าน ต่อมามีการศึกษา โดยต้มช้าพลูทั้งห้า แล้วทดสอบในกระต่าย พบว่าช้าพลูต้มสามารถช่วยลดน้ำตาลได้ดีในกระต่ายที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่ลดในกระต่ายปกติ

นอกจากนี้ ช้าพลูจัดเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแนะนำผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากมีฤทธิ์ แอนตี้อ๊อกซิแด็นท์สูงมาก ทั้งยังมีปริมาณแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินซี สูงมากชนิดหนึ่ง และไม่ลดน้ำตาลในคนปกติอีกด้วย จึงเหมาะสำหรับนำมาทานเป็นอาหาร เป็นชาหรือยาต้มในคนทั่วไปและผู้ป่วยเบาหวาน

วิธีใช้  นำช้าพลูทั้งห้า(ทั้งต้นจนถึงราก) 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี้ยวให้เหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละ ครึ่งแก้วกาแฟก่อนอาหาร 3 มื้อ สรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

@มะระขี้นก

มะระขี้นกจัดว่าเป็นสมุนไพรของไทย จีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้  และต่างรู้โดยทั่วกันว่ามีสรรพคุณในการรักษาเบาหวาน และในทุกภาคของไทยมีการใช้มะระขี้นกเป็นผัก ลวกจิ้มน้ำพริกทำอาหารร่วมกับผักอื่นๆ และส่วนใหญ่มักจะลวกก่อนเพื่อลดความขม

มะระขี้ยกขึ้นง่ายปลูกเองได้ในบ้าน ยอดอ่อน ผลอ่อนนำมาปรุงอาหารได้ มีวิตามินเอและซีสูว รวมทั้งมีรายงานการศึกษาวิจัยสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือด พบว่า สามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของน้ำคั้น ชาชง แคปซูล ผงแห้ง

มะระชี้นกนั้นออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสของตับ องค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด คือ p-Insulin , Charantin และ Visine

 

ตำรับยา น้ำคั้นสดมะระขี้นก นำผลมะระขี้นกสด 8-10 ผล เอาเมล็ดในออก ใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ประมาณ 100 มล.) หรือรับประทานทั้งกากก็ได้ แบ่งรับประทานวันละ3เวลา ต่อเนื่อง

ตำรับยา ชามะระขี้นก

เอาเนื้อมะระขี้นกผลเล็กซึ่งมีตัวยามากมาผ่าเอาแต่เนื้อหั่นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้งแล้วชงกับน้ำเดือด โดยใช้ชินมะระ 1-2 ชิ้น ต่อน้ำ 1 ถ้วย ดื่มแบบชาครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือต้มเอาน้ำมาดื่มก็ได้ หรือ ใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มแทนน้ำ ไม่เกิน 1 เดือน เห็นผลตำรับยา ทำแคปซูล หรือลูกกลอน มะระขี้นก รับประทานมะระขี้นก 500-1000 มก. วันละ 1-2 ครั้ง ข้อควรระวัง คนท้อง เด็ก คนที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรรับประทาน

@เตยหอม

ใบเตยหอมอยู่คู่กับอาหารคาวหวานนานาชนิด และมีการใช้มาอย่างยาวนาน หมอยาสมัยก่อน นิยมใช้รากเตย เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดัน ลดเบาหวาน และใช้ทุกส่วนในการบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น แก้อ่อนเพลีย ส่วนของใบใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน รักษาโรคหัด อีสุกอีใส ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์เภสัชวิทยา พบว่า เตยหอม มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นหัวใจ ขับปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการทดลองทางคลินิก ทว่า เมืองไทยเรามีการใช้เตยหอมในการรักษาเบาหวานมานาน แม้ส่วนที่ใช้จะเป็นราก แต่เราสามารถเติมน้ำคั้นจากใบเพื่อแต่งกลิ่นได้ และคนที่ไม่เป็นเบาหวานก็ทานได้เช่นกัน

วิธีใช้ นำรากเตยหอมประมาณ 1 ขีด สับเป็นท่อนเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร  ต้มเดือด จากนั้นเคี่ยวต่อประมาณ 15-20  นาที นำยาที่ได้ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว วันละ 3 มื้อ  หรือใช้ใบเตยร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นใบเตยหอม 32 ใบ ใบสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วชงดื่มแบบชา หรือใส่หม้อดินต้ม รับประทานยาต่างน้ำทุกวัน ข้อแนะนำ  ควรรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน

@กะเพรา

กะเพรา เป็นพืชที่คนอินเดียบูชา และในฐานะตัวแทนเทพเจ้า กะเพราะจัดเป็นสมุนไพรที่ค่าทางยามากที่สุดชนิดหนึ่งของการแพทย์อายุรเวท โดยใช้กะเพราเป็นยารักษาเบาหวาน แก้ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไอ แก้หอบหืด ปัญหา   ของโรคหัวใจและหลอดเลือด ข้ออักเสบ และโรคระบบทางเดินหายใจ และที่นิยมใช้กะเพรารักษาอีกโรคคือ โรคเครียด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการคลายเครียดได้ดี

ปัจจุบันมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่ากะเพรามีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้ม กัน รักษาหืด ต้านความเครียด ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ต้านฮีสตามีน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ แก้ไข้ แก้ปวด ลดคลอเลสเตอรอล และที่สำคัญคือลดน้ำตาลในเลือดพบ ว่า ใบกะเพราทำให้เซลล์ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น  และการวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน การให้ผงใบกะเพราวันละ 2.5 กรัม 4 สัปดาห์ สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ (เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวานเล็กน้อยถึงปานกลาง)

 

วิธีใช้ ใช้ผงใบกระเพราทำชา ประมาณ 1 ช้อนชา น้ำร้อน 1 ถ้วย ดื่ม วันละ 3 ครั้ง แคปซูลกะเพรา รับประทานวันละ 2.5 กรัมต่อวัน หรือน้ำมันกะเพรา 2-5 หยด ต่อวันข้อควรระวัง ไม่ควรใช้กะเพรา ในคนท้องและหญิงให้นมบุตร

@ตำลึง

ตำลึงจัดเป็นผัก สมุนไพรที่หาง่าย คุณค่าทางอาหารสูง และมีข้อมูลการใช้ในตำรับยาอายุรเวทในการรักษาเบาหวานมานานนับพันปี รวมถึง มีการศึกษาวิจัยมากมายและน่าเชื่อถือได้ ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในสัตว์ทดลองและในคน สามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็น ใบ ราก ผล เป็นผักที่มีวิตามินเอ สูงมาก มีวิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวหนัง มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด นอกจากนี้ยังช่วยระบายมีกากใยสูงอีกด้วย

วิธีใช้ นำยอดตำลึง 1 กำมือ หรือขนาดที่กินพออิ่ม โรยเกลือ หรือเหยาะน้ำปลา ห่อด้วยใบตองเผาไฟจนสุก แล้วกินให้หมดหรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกันสามเดือน

@ว่านหางจระเข้

ว่าน หางจระเข้ เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานนับพันปี ในตำราสมุนไพรที่ชื่อของกรีก รายงานการใช้ว่านหางจระเข้อย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่การใช้รักษาบาดแผล นอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคผิวหนังพอง ถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนัง

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยประโยชน์ว่านหางจระเข้ทั้งทางยาและเครื่อง สำอาง ในส่วนที่เป็นยานั้นพบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดทั้งในคนและสัตว์ทดลอง กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นจึงเหมาะในผู้ป่วยเบาหวาน

วิธีใช้ รับประทาน เนื้อว่านหางจระเข้สดวันละ 15 กรัม ทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์

@อบเชยจีน

อบเชยจีนเป็นพืชประจำถิ่นแถวเอเชียใต้ มีการบันทึกการใช้เป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังเป็นเครื่องเทศสำคัญจากเอเชียสู่ยุโรป นอกจากการเป็นเครื่องเทศ และเครื่องหอมแล้ว ยังมีการใช้เป็นยาสำหรับรักษาไซนัส หวัด หวัดใหญ่ มะเร็ง  ล่าสุด ได้มีการค้นพบสรรพคุณของอบเชย โดยมีสรรพคุณช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ในอบเชย มีสาร Methylhydroxy Chalone Polymer(MHCP) ที่ทำให้เซลล์ไขมันตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้อินซูลินทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีฤทธิ์เหมือนอินซูลินคือช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยนอกจากลดน้ำตาลในเลือดได้แล้ว อบเชยจีนยังช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันตัวร้ายLDL และลดคลอเลสเตอรอลได้ด้วย

 วิธีใช้ รับประทานผงอบเชยจีนประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน แบ่งเป็นเช้าครึ่งช้อนชา เย็นครึ่งช้อนชา รับประทานกับเครื่องดื่มเช่น นม โอวัลติน ชา กาแฟ โยเกิร์ต หรือบรรจุแคปซูลรับประทานได้ ควรรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 20 วัน นอกจากนี้เพียงเอาชิ้นอบเชยแช่ในถ้วยชาก็สามารถใช้ลดน้ำตาลได้ และการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือต่ำนั้นก็ทำให้ความสามารถในการลดน้ำตาล ไม่ต่างกัน

 

@อินทนิลน้ำ

อินทนิลน้ำเป็นไม้ต้น ผลัดใบ พบทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณฝั่งแม่น้ำ ป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบทั่วทุกภาค จัดเป็นสมุนไพรที่มีดอกสวย ดอกช่อสีม่วงอมชมพู และยังเป็นสมุนไพรยอดนิยมในการรักษาเบาหวานมาแต่โบราณของไทย

ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าอินทนิลน้ำมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โยมีสาระสำคัญชื่อ Corosolic acid ออกฤทธิ์เหมือนอินซูลิน จัดเป็นอินซูลินจากธรรมชาติ ไม่พบผลข้างเคียง ทั้งยั้งช่วยชะลอการย่อยแป้งในระบบทางเดินอาหาร และทำให้การลำเลียงน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ดีขึ้น  โดยใบอินทนิลน้ำที่ดีเหมาะกับการนำมาทำยาคือใบแก่ ใกล้ผลัดใบ นอกจากนี้เมล็ดแห้งของอินทนิลน้ำก็สารถช่วยลดน้ำตาลได้เช่นกัน

ตำรับยา

1 ใบอินทนิลน้ำแก่ 100 กรัม  น้ำสะอาด 1 ลิตร ต้มให้เดือด จากนั้นเคี่ยวไฟอ่อนต่อไปอีก 15 นาที ดื่มเป็นยาครั้งละ 1 ถ้วยชา เช้า กลางวัน เย็น  ดื่มต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ จึงสังเกตผลได้

2 ใบอินทนิลน้ำแห้ง 8-9 ใบ คั่วให้กรอบ นำมาต้มน้ำ กินต่างน้ำชา สามารถต้มแช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ ดื่มได้เรื่อยๆ กินติดต่อกันอย่างน้อย 12 หม้อ

@หว้า

ลูกหว้าเป็นผลไม้ป่า มีรสเปรี้ยว ฝาด หวาน เวลากินแล้วปากจะดำ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายนอกจากเป็นผลไม้กินเล่น เช่น ทำเป็นไวน์ แยม ทำน้ำสมุนไพร

มีการศึกษาประโยชน์ของหว้าทั้งในสัตว์ทดลองและในคน ถึงฤทธิ์ของการลดน้ำตาลในเลือดพบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายอินซูลิน ช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเบาหวาน เพิ่มปริมาณไกลโคเจน ในตับและแม้แต่ในอเมริกาก็มีการยืนยันว่าสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดหว้ามี ประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน

ตำรับยา  ยาต้มเมล็ดลูกหว้า

1 เมล็ดสดของลูกหว้า 100 กรัม (1ขีด)  2 น้ำสะอาด 1 ลิตรนำเมล็ดลูกหว้ามาโขลก ใส่หม้อต้มให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆสัก 15 นาที ให้ตัวยาออกมา รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 มื้อ เป็นเวลา 1 เดือน อาการเบาหวานจะทุเลา สามารถลดยา หรือใช้สมุนไพรในการดูแลอย่างเดียวได้ แต่ควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดเสมอ (สามารถใช้เมล็ดแห้งแทนได้ กรณีไม่มีเมล็ดสด)

ตำรับยา ยาผงหรือแคปซูลหว้า

ผงเมล็ดลูกหว้าแห้ง 250 มิลลิกรัม  นำผงเมล็ดลูกหว้าแห้งบรรจุแคปซูล หรือใช้ระลายน้ำ รับประทานวันละ 3 เวลา ขนาดอาจเพิ่มได้ถึง 4 กรัมต่อวัน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน สังเกตผลระดับน้ำตาลในเลือด

การใช้เป็นอาหารสุขภาพ

น้ำลูกหว้า อาจใช้ผลสดหรือแห้ง นำมาต้มเป็นน้ำสมุนไพร สำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้เช่นกัน

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : #สมุนไพรรักษาโรค

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : สมุนไพรรักษาโรค มะรุมแคปซูล ขมิ้นชัน สรรพคุณล้างพิษ ลดหน้าท้อง http://www.thaiherbweb.com

ไม่มีความคิดเห็น: