บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

มะขามแขก

มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว
ข้อห้าม : ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน
มะขามแขก มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ Senna มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Senna alexandrina P. Miller หรือCassia angustifolia มีประวัติการนำมาใช้เป็นยาระบายมานานเกือบ 100 ปี ในใบและฝักมะขามแขก มีสารที่ชื่อ แอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้ถ่ายท้องได้
โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com
LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ระทกรก หรือกระโปรงทอง ประโยชน์มากคุณค่าเพียบ

ระทกรก หรือกระโปรงทอง ประโยชน์มากคุณค่าเพียบ
          หลายคนคิดว่ากะทกรก คือ เสาวรส ที่จริงแล้วกะทกรก  เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นมีริ้วและขนสั้นนุ่มกระจาย มีขนต่อมยาวตามหูใบ ก้านใบ และแผ่นใบ ในแพทย์พื้นบ้าน เวียดนาม ใช้ใบกะทกรก เป็นยาสงบระงับ จ่ายในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลและเครียด โดยใช้ใบแห้ง 10-15 กรัมต่อวัน นำมาต้ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบชาชง สารสกัดเหลว หรือไซรับ และส่วนรากซึ่งใช้แก้ความดันโลหิตสูง สรรพคุณทางยาพื้นบ้าน ไทย ใช้เถาและรากสด ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น แก้ไอ ขับเสมหะ แก้บวม ใบใช้ตำพอกแผลเพื่อฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง หิด ไข้หวัด ดอกใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ผลดิบมีรสเบื่อ ผลสุกหวาน ใช้แก้ปวด บำรุงปอด รากใช้ต้มน้ำดื่มแก้เบาหวาน[3] ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ
           ประโยชน์ของกะทกรก
ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียงผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัวใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้
         

สรรพคุณของเปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง  รากสดหรือรากตากแห้ง ใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น เมล็ดใช้แก้เด็กที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม ด้วยการนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำส้มและรมควันให้อุ่น แล้วเอาไปทาท้องเด็ก
ข้อควรระวังในการรับประทานกะทกรก

ทั้งต้นสดมีรสเบื่อเมาและเป็นพิษ หากนำมากินอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงต้องนำไปต้มให้สุกก่อนนำมาใช้ผลอ่อนมีพิษ เนื่องจากมีสารไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ (Cyanogenetic glucoside) เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารดังกล่าวสลายตัวจะทำให้ Acetone และ Hydrocyanic acid (สารชนิดหลังเป็นพิษ) ทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการเจียน

อ่านต่อได้ที่ : thaiherbweb.com
โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com 
LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ต้นเกล็ดนาคราช


ต้นเกล็ดนาคราช จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยที่ชอบเกาะไต่ไปตามต้นไม้อื่น ตามกลีบหิน หรือบนไหล่เขา ลักษณะคล้ายกับงูเหลือม และจะมีเกล็ดเล็ก ๆ ลายตลอดเถา เป็นสีด่าง ๆ เหลืองขาว
สรรพคุณทางสมุนไพร
เถา ใช้ฝนกับสุราทารักษาพิษตะขาบ พิษแมลงป่อง และอสรพิษขบกัด เป็นยาเย็นและยาถอนพิษได้ดี หรือใช้เถาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปคั่วไฟให้เหลืองแล้วใช้ดองกับสุรากินรักษาอาการปวดเอว และสันหลังเนื่องจากเลือดระดูไม่ปรกติ เป็นยาขับเลือดระดู
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น เป็นยาเย็น แช่น้ำอาบ แก้ไข้
ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น แก้อักเสบปวดบวม ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ พิษตานซาง ใช้ภายนอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณแผลพุพอง
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ น้ำคั้นจากใบ ทาแก้กลากเกลื้อน
ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลพุพองทั่วไป

โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com


LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

เปราะหอม


เปราะหอม...แก้อักเสบ คลายเครียด แก้สิวฝ้า บำรุงผิว
ว่านหอม…ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเปราะหอมพบว่า เปราะหอมมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ลดการอักเสบ ฤทธิ์แก้ปวด ฤทธิ์ดูดกลืนแสง UV มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและรา เป็นต้น ทำให้ได้คิดว่าว่านหอมสามารถออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้อีกมากมาย เช่น ครีมกันแดดจากเปราะหอม น้ำยาบ้วนปากเพื่อดับกลิ่นปากจากเปราะหอม เป็นต้น
เปราะหอมขาวและแดง เป็นไม้ลงหัว จำพวกมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ม้วนๆ คล้ายๆ หูม้า หน้าใบเขียว เปราะหอมขาว ท้องใบมีสีขาว เปราะหอมแดง ท้องใบมีสีแดง ใบยาวราว 3-4 นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลมๆ เป็นไม้เจริญในฤดูฝนพอย่างเข้าฤดูหนาว ต้นและใบก็โทรมไป เปราะหอมทั้งสองรสเผ็ดขม แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลมทิ้ง
เหง้ามีรสเผ็ดขม ใช้ขับลม แก้ลงท้อง แก้หวัด กระตุ้นอาการประสาทหลอน เหง้าใช้ประกอบอาหาร ชาวโอรัง อัสลีในรัฐเปรู ประเทศมาเลเซียนำน้ำคั้นจากเหง้าใช้รักษาอาการปวดจากโรคกระเพาะอาหารและไอ
โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com
LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

จันทร์ขาวหรือจันทนา


จันทร์ขาวหรือจันทนา บำรุงเลือดลม บำรุงประสาท
บางครั้งเรียก แก่นจันทร์ หรือ จันทร์หิมาลัย ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงประสาท แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ปลูกมากทางภาคใต้ของประเทศอินเดียตั้งแต่เมืองไมซอร์จนถึงมัทราส ชาวฮินดูใช้เป็นยาแก้ไข้ บดเป็นผงผสมในยาทาแก้ไฟลามทุ่ง ผื่นคันเรื้อรัง เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันจันทน์ขาว สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ใช้ผสมในเครื่องหอมและสบู่ ใช้แกะสลักเป็นพระพุทธรูป หรือใช้ทำของใช้ เช่น พัด ใช้ในพิธีเผาศพของชนชั้นสูง และใช้สำเร็จโทษเจ้านายชั้นสูงที่กระทำความผิด
เนื้อไม้และแก่น มีสีออกน้ำตาลอ่อน หรือออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน
ตำรายาไทย: ใช้เนื้อไม้บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้ตับ ปอดและดีพิการ แก้เหงื่อตกหนัก ขับพยาธิ บำรุงธาตุไฟ บำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้ร้อน บำรุงเลือดลม บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์ ทำให้เกิดปัญญาและราศี แม้มลทิน แก่น แก้ไข้กำเดา บำรุงหัวใจ แก้ลม แก้อ่อนเพลีย มีการใช้จันทน์ขาวใน “พิกัดเบญจโลธิกะ” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีคุณทำให้ชื่นใจ 5 อย่าง มี แก่นจันทน์ชะมด ต้นเนระพูสี ต้นมหาสะดำ แก่นจันทน์แดง และแก่นจันทน์ขาว สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน กล่อมพิษทั้งปวง และมีการใช้ใน “พิกัดจันทน์ทั้ง 5 “ คือการจำกัดจำนวนแก่นไม้จันทน์ 5 อย่าง มี แก่นจันทน์ชะมด แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์ทนา แก่นจันทน์แดง และแก่นจันทน์ขาว สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อโลหิตและดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับปอดหัวใจ แก้พยาธิบาดแผล
โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com
LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

โกฐเขมา


โกฐเขมา บรรเทาปวดลดอักเสบ
โกฐเขมาเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ขึ้นตามทุ่งหญ้าในป่าและตามซอกหิน มีกลิ่นหอม ลำต้นกลมเป็นร่อง ขึ้นเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ไม่แตกกิ่งก้านสาขา หรือแตกกิ่งเฉพาะตอนบน มีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย
โกฐเขมาเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” สรรพคุณโดยรวมของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก เหง้า มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน
เหง้าใต้ดินนี้เองที่นิยมนำมาใช้ทำยา เนื่องจากมีสรรพคุณบำรุงธาตุ ขับลม ใช้แก้โรคเกี่ยวกับข้อ เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย แก้จุกแน่น แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ แก้ท้องเสีย
แพทย์แผนจีนนิยมใช้โกฐเขมาเข้าในยาจีนหลายขนาน ใช้แก้อาการท้องร่วงท้องเสีย แก้อาการบวมโดยเฉพาะอาการบวมที่ขา แก้ปวดข้อ เนื่องจากโรคข้ออักเสบ แก้หวัด และแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน
ทางเภสัชวิทยา พบว่า โกฐเขมามีฤทธิ์ต้านปวด ต้านการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดความดันโลหิต กดระบบประสาทส่วนกลาง และลดอุณหภูมิกาย
สำหรับการวิจัยของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า โกฐเขมามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส คือช่วยย่อยสลายอาหารจำพวกไขมัน ลดความอ้วน และมีฤทธิ์ต้านภาวะ oxidative stress หรือภาวะเครียดได้
โทร : 080-5842717 / 086-3515214 / 097-3199029
E-mail : thaiherbweb@gmail.com


LineID: thaihaerbweb thaiherbweb1